วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ :


  • นางสาววัชรา ค้าสุกร : สื่อการเรียนคณิตศาสตร์ ชื่อ "สื่อการสอนคณิตคิดสนุก" เหมาะสำหรับเด็ก 2 -3 ปี ให้เด็กได้รู้จำนวนของเลข 1 - 10 ก่อน สอนให้รู้จักการอ่าน เขียน การแทนปริมาณ


  • นางสาวเพ็ญประภา บุญมา : สอนการเรียนเสริมเลขให้ลูกวัยอนุบาล คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยนึกถึงกระบวนการสอนเด็ก คณิตไม่ใช่แค่ตัวเลขแต่เป็นการจััดการปัญหา
  • นายปฏิภาณ จินดาดวง : เป็นวิจัยทักษะพื้นฐาน เรื่องที่เด็กจะได้เรียนรู้ คือ การนับ การเปรียบเทียบและเรียงลำดับ


การประเมิน : 
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟัง ตั้งใจตอบคำถามค่ะ
ประเมินเพื่อน : สำหรับเพื่อนที่ออกไปรายงาน เพื่อนอธิบายได้เข้าใจง่ายค่ะ ส่วนเพื่อนๆที่ฟังก็ตั้งใจฟังดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายง่ายๆสั้นๆพอเข้าใจได้ค่ะ




วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
  1. การนับ : การนับจำนวนเพื่อนในห้อง 
  2. ตัวเลข : จำนวนนิ้วมือ ไม่สอนเป็นวิชาการแต่ให้ทำความเข้าใจมากกว่า
  3. การจับคู่ : จับคู่ของสิ่งที่ใช้เหมือนกัน เช่น ช้อน-ส้อม ดินสอ-ยางลบ หรือ จับคู่ของสิ่งที่ตรงข้ามกัน เช่น ร้อน-หนาว ขาว-ดำ
  4. การจัดประเภท : การจัดหมวดหมู่ เช่น ของที่ใช้ในห้องครัว ของที่ใช้ในห้องน้ำ
  5. การเปรียบเทียบ : การเปรียบเทียบของ 2 สิ่งว่ามีขนาดเท่ากันหรือแตกต่างกัน
  6. การจัดลำดับ : เล็กไปหาใหญ่ น้อยไปหามาก ผอมไปหาอ้วน
  7. รูปทรงและเนื้อที่ : กิจกรรมให้บอกรูปทรงต่างๆ เพื่อให้เด็กสามารถจำแนกรูปทรงและหาเนื้อที่ได้
  8. การวัด : การวัดอาจจะใช้ส่วนต่างๆของร่างกายเป็นการวัดสิ่งต่างๆแล้วบอกเด็กว่า การวัดแบบนี้มีค่าเท่าไหร่ เช่น การคืบ การวัดกับแขน 
  9. เซต : การจับคู่ของจำนวนเซตที่ไม่เท่ากัน
  10. เศษส่วน : ใช้วิธีการ เช่น เศษหนึ่งส่วนสอง อาจจะให้เด็กดูรูปที่สนใจ แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกทำเป็นสีทึบ ส่วนที่สองเป็นสีตามสิ่งของนั้น เด็กจะได้เข้าใจถึงเศษส่วน
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย : การขีดเส้นตามจุดให้เป็นรูปภาพที่มีรายละเอียดมากขึ้น
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ

วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ :






     วันนี้อาจารย์อธิบายถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของนักการศึกษา และอธิบายให้เข้าใจถึงเรื่องของคณิตศาสตร์ ดังนี้

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
  1. การนับ Counting
  2. ตัวเลข Number
  3. การจับคู่ Matching
  4. การจัดประเภท Classification
  5. การเปรียบเทียบ Comparing
  6. การจัดลำดับ Ordering
  7. รูปทรงและเนื้อที่ Shape and Space
  8. การวัด เป็นการอธิบายง่ายๆให้เด็กเข้าใจ Measurement
  9. เซต Set
  10. เศษส่วน Fraction
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย Patterning 
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ Conservation

หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
  1. เด็กได้เรียนรู้จากของจริง
  2. เริ่มจากง่ายไปยาก
  3. สร้างความเข้าใจมากกวาให้ท่องจำ
  4. เริ่มจากสิ่งใกล้ตัวที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
  5. ก่อให้เกิดความสนุกสนาน
  6. ให้เด็กได้มีประสบการณ์
  7. จัดกิจกรรมทบทวนโดยการถามปากเปล่าหรือสร้างเรื่องราวให้คิดซ้ำส่งเสริมให้เด็กมีปัญหาและหาเหตุผล ข้อเท็จจริง





การประเมิน : 
ประเมินตนเอง : ตั้งใจตอบคำถามตลอดคาบค่ะ
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆช่วยกันตามคำถามตลอดค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเข้าใจง่ายดีค่ะ

วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ :




     วันนี้ในตอนต้นคาบก่อนจะเริ่มเข้าสู่เนื้อหาการเรียน อาจารย์ได้สอนถึงการเล่าบทความ วิจัยและวิดิโอการสอน ว่าควรเล่าอย่างไรให้ถูกต้อง ในการเริ่มเรื่อง การเกริ่นเรื่อง อ้างอิงที่มา ภาษาในการพูด การอธิบายให้ผู้ฟังในห้องเข้าใจ 


 
  • เพื่อนคนแรกได้ออกมาเล่าเกี่ยวกับ การที่เราควรเน้นให้เด็กลงมือทำ คณิตศาสตร์ที่เด็กควรเรียนรู้ควรเกี่ยวกับเรื่องในชีวิตประจำวัน (รูปร่าง รูปทรง ตัวเลข)เด็กแต่ละคนมีความสามารถเฉพาะคน การเรียนไม่ควรเครียดจนเกินไป

  • เพื่อนคนที่ 2 พูดถึงเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาโดยใช้สมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมคณิตศาสตร์ ดูพื้นฐานเด็กแต่ละคนก่อนว่าในวัยนี้ควรจะเรียนในเรื่องใด เหมาะสมกับเรื่องใด เปรียบเทียบถึงการสอนก่อนแล้วหลังจากปฏิบัติเป็นอย่างไร และเพื่อนได้ยกตัวอย่างการสอนเด็กในเรื่องเงิน
      หลังจากที่เพื่อนได้ออกมาพูดหน้าชั้นเรียนแล้ว อาจารย์ก็ได้เข้าสู่บทเรียน คือ เริ่มจากการที่แจกกระดาษให้พวกเราในห้อง แล้วให้พวกเราช่วยกันดูว่าจำนวนคนกับจำนวนกระดาษ สิ่งใดที่มีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่าแล้วช่วยกันหาประโยคสัญลักษณ์



     แต่การที่จะให้เด็กในวัยนี้ได้เรียนรู้ถึงประโยคสัญลักษณ์เลยอาจจะยากไป อย่ารีบร้อนตั้งประโยตสัญลักษณ์ เราอาจมีวิธีให้เด็กทำกิจกรรม อาจารย์เลยให้พวกเราได้ทำกิจกรรมที่อาจารย์จะอธิบายให้เห็นถึงตัวอย่าง คือ ให้พวกเราในห้องทุกคนออกมาโหวตว่า ในห้องมีใครชอบทาน ส้มตำ กับ ลาบไก่ มากกว่ากัน




          หลังจากนั้นอาจารย์ให้พวกเราทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้และให้พวกเราตอบคำถามของอาจารย์ คือ คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง และ ให้คณิตศาสตร์เมื่อไหร่บ้าง


          และในกิจกรรมสุดท้ายของวันนี้ คือ อาจารย์ให้แทนสัญลักษณ์กับจังหวะที่พวกเราได้ฟัง

 


 การประเมิน : 
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรม ตั้งใจตอบคำถามตลอดคาบค่ะ
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆมาน้อยเลยไม่ค่อยเสียงดังมากค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อาจจะยังอธิบายงงๆบ้าง แต่โดยรวมแล้วนักศึกษาเข้าใจถึง concept ที่อาจารย์สอนค่ะ


วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ :




     วันนี้ตอนเริ่มคาบอาจารย์ให้พวกเราแจกกระดาษให้พวกเราทุกคน ในตอนแรกในห้องยังมีเพื่อนที่มาไม่ครบมีจำนวนอยู่ 19 คน พออาจารย์แจกกระดาษ กระดาษมีเพียง 17 แผ่นเท่านั้น อาจารย์เลยให้พวกเราช่วยกันออกความคิดว่าสามารถเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง ได้แก่

  • กระดาษมีจำนวนน้อยกว่าคน
  • กระดาษ < คน
  • 17 < 19
  • 19 - 17 = 2     


     หลังจากที่จบกิจกรรมแรกไปแล้ว หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้พวกเราพับกระดาษแบบไหนก็ได้ แต่พวกเราก็จะมัวแต่คิดว่าพับแบบไหนกระดาษถึงจะสมดุลกันในทุกด้าน เท่ากันทุกด้าน แต่อาจารย์ได้บอกว่า อาจารย์ไม่ได้ห้ามวิธีที่เราคิด ทุกคนสามารถที่จะคิดแบบใดก็ได้ไม่มีขีดจำกัด เหมือนกับการพัฒนาของสมอง สมองจะซึมซับความรู้แล้วไปสอดแทรกกับความรู้เดิม กลายเป็นความรู้ใหม่ได้


 การประเมิน : 
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายค่ะ รู้สึกง่วงเล็กน้อยค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆก็อาจจะมีที่ยังไม่ค่อยเข้าใจบ้างค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเข้าใจง่ายค่ะ