- การนับ : การนับจำนวนเพื่อนในห้อง
- ตัวเลข : จำนวนนิ้วมือ ไม่สอนเป็นวิชาการแต่ให้ทำความเข้าใจมากกว่า
- การจับคู่ : จับคู่ของสิ่งที่ใช้เหมือนกัน เช่น ช้อน-ส้อม ดินสอ-ยางลบ หรือ จับคู่ของสิ่งที่ตรงข้ามกัน เช่น ร้อน-หนาว ขาว-ดำ
- การจัดประเภท : การจัดหมวดหมู่ เช่น ของที่ใช้ในห้องครัว ของที่ใช้ในห้องน้ำ
- การเปรียบเทียบ : การเปรียบเทียบของ 2 สิ่งว่ามีขนาดเท่ากันหรือแตกต่างกัน
- การจัดลำดับ : เล็กไปหาใหญ่ น้อยไปหามาก ผอมไปหาอ้วน
- รูปทรงและเนื้อที่ : กิจกรรมให้บอกรูปทรงต่างๆ เพื่อให้เด็กสามารถจำแนกรูปทรงและหาเนื้อที่ได้
- การวัด : การวัดอาจจะใช้ส่วนต่างๆของร่างกายเป็นการวัดสิ่งต่างๆแล้วบอกเด็กว่า การวัดแบบนี้มีค่าเท่าไหร่ เช่น การคืบ การวัดกับแขน
- เซต : การจับคู่ของจำนวนเซตที่ไม่เท่ากัน
- เศษส่วน : ใช้วิธีการ เช่น เศษหนึ่งส่วนสอง อาจจะให้เด็กดูรูปที่สนใจ แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกทำเป็นสีทึบ ส่วนที่สองเป็นสีตามสิ่งของนั้น เด็กจะได้เข้าใจถึงเศษส่วน
- การทำตามแบบหรือลวดลาย : การขีดเส้นตามจุดให้เป็นรูปภาพที่มีรายละเอียดมากขึ้น
- การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
แฟ้มสะสมผลงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2560
วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น