วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ :


     วันนี้อาจารย์ให้พวกเราออกมานำเสนอสื่อที่พวกเราทำเสร็จแล้วหน้าห้อง สื่อของพวกเราต้องนำไปให้เด็กเล่นแล้วพร้อมนำเสนอ

เกม : จิ๊กซอว์รูปทรง


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ
2. เพื่อให้เด็กได้ฝึกการสังเกตมองภาพองค์รวมและมองสังเกตภาพที่เล็กลงมา
3. เพื่อให้เด็กเกิดพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ – จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา

วิธีการเล่น
1. เตรียมแผ่นรองที่จะใช้ต่อจิ๊กซอว์
2. เด็กสามารถต่อจิ๊กซอว์ได้ตามอิสระ

ประโยชน์
ด้านร่างกาย ได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การใช้ประสาทสัมผัสระหว่างตากับมือ
ด้านอารมณ์-จิตใจ เด็กสนุกสนานกับการได้ลงมือเล่น
สังคม ได้มีส่วนร่วมในการแบ่งปันการเล่นกับเพื่อนหรือผู้อื่น ได้มีการสื่อสาร มีการใช้ภาษา ได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
สติปัญญา มีสมาธิ เป็นการฝึกการสังเกต ฝึกความพยายาม ความอดทน มีทักษะในการคิด




     เพื่อนๆทุกคนช่วยกันจัดสื่อหน้าชั้นเรียนค่ะ
หลังจากที่จัดเรียบร้อยแล้วก็ได้เห็นผลงานของเพื่อนๆทุกคนค่ะ













การประเมิน : 


ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำงานสื่อมากค่ะ ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือค่ะ แต่บางคนก็ไม่ค่อยให้ความร่วมมือค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเรื่องต่างๆได้ง่าย เข้าใจง่ายดีค่ะ


วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ :


     วันนี้อาจารย์ให้พวกเราออกมานำเสนอสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์จากแผงไข่ที่เคยให้ทำเอาไว้ค่ะ (คู่กับ น.ส.ปิยธิดา ประเสริฐสังข์)




ชื่อสื่อ : "จิ๊กซอว์รูปทรง"
     สื่อของนักศึกษาจะทำให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องรูปทรงต่างๆ สามารถเล่นได้หลายแบบแล้วแต่จะเล่นแบบไหนก็ได้ค่ะ 



     ต่อมาอาจารย์ให้คนที่ยังไม่นำเสนอบทความ วิจัยและตัวอย่างการสอนออกมานำเสนอหน้าห้องให้เพื่อนๆได้ฟังค่ะ และวันนี้ตัวนักศึกษาก็ได้ออกไปนำเสนอค่ะ
บทความเรื่อง : นิทานกับการสอนคณิตศาสตร์




สรุป : เราสามารถนำนิทานมาสร้างกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้เด็กได้โดยการนำนิทานที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ อาจจะเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก นอกจากเด็กจะได้ความรู้แล้วยังได้ความสนุกสนาน เพลิดเพลินอีกด้วย
          ในการแต่งนิทานเพื่อนำไปสอนเด็กเราควรคิดเรื่องที่จะศึกษาขึ้นมาเสียก่อนเพื่อให้ตรงจุดประสงค์ที่จะเรียน 👉🏼สร้างตัวละครหลักขึ้นมา👉🏼ฉาก/สถานที่👉🏼การดำเนินชีวิตของตัวละคร/ว่าใครทำอะไร


     ต่อมาเป็นการนำเสนอของเพื่อนๆคนอื่นค่ะ

  •  นางสาวปิยธิดา ประเสริฐสังข์ : นำเสนอตัวอย่างการสอน เรื่อง "กิจกรรมเพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะการเปรียบเทียบ"
     ขั้นนำ 🔘เก็บเด็กให้เป็นระเบียบโดยการนำเพลงตับไหล่ตบตัก
               🔘เริ่มการตั้งปริศนาคำทายกับเด็ก (เกี่ยวกับเรื่องที่จะ                               เรียน)
     ขั้นสอน 🔘นับจำนวนว่ามีเท่าไหร่ (นับปากเปล่า 1 2 3...)
                  🔘แล้วให้เด็กบอกจำนวนทั้งหมด
                  🔘แทนค่าด้วยตัวเลขฮินดูอาราบิก
                  🔘ครูให้เด็กเปรียบเทียบและเรียงลำดับจากเล็กไปใหญ่
                  🔘ถ้ามีการเปรียบเทียบน้ำหนักควรให้เด็กออกมาชั่งด้วย                         ตนเอง (แบบไม่เป็นทางการ/กึ่งทางการ/ทางการ)


  • นางสาวอินทิรา หมึกสี : วิจัยเรื่อง"การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงกับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครู"


  • นางสาวชนนิกานต์ วัฒนา : บทความ เรื่อง "ดีจริงหรือที่เร่งอ่าน เขียน คณิตในอนุบาล"

  • นางสาวอรุณวดี ศรีจันดา : บทความ เรื่อง "พัฒนาการด้านตัวเลขของเด็กวัย 1-6 ปี (พร้อมไอเดียดีๆในการส่งเสริมลูกรัก)"

การประเมิน : 

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์ให้คำแนะนำเรื่องสื่อของตัวนักศึกษาและของเพื่อนๆคนอื่นค่ะ พร้อมจดที่อาจารย์สอนหรือให้คำแนะนำเรื่องต่างๆ
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนมากๆค่ะ และทุกคนทำสื่อออกมาได้ดีมากค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเรื่องต่างๆได้ง่าย เข้าใจง่ายดีค่ะ







วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ.2561

ความรู้ที่ได้รับ :


     วันนี้อาจารย์ให้พวกเรานำงานที่ให้ทำสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์จากแผงไข่ ให้พวกเรามานำเสนอถึงความคืบหน้า พร้อมให้คำแนะนำว่าพวกเราต้องปรับปรุงตรงไหน





     งานของนักศึกษาเป็นจิ๊กซอว์แผงไข่มีเรื่องเรขาคณิต อาจารย์ให้ปรับเปลี่ยนแค่ระบายสีเป็นสีเดียวกันทั้งหมด เด็กจะได้ไม่เข้าใจว่า เช่น ถ้าเราระบายสีเขียวที่สี่เหลี่ยม ระบายสีฟ้าที่สามเหลี่ยม เด็กจะเข้าใจว่าสีนี้เป็นตัวแทนของรูปทรงเรขาคณิตแบบนี้


การประเมิน : 
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังตอนที่อาจารย์แนะนำให้ปรับปรุงตอนไหน รวมถึงสื่อของเพื่อนคนอื่นๆ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจนำเสนอสื่อค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเข้าใจง่ายๆให้เข้าใจค่ะ




วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561